10 ม.ค. ส่อง Highlight เทรนด์เทคโนโลยี GIS ปี 2023 สู่อนาคตที่ยั่งยืน
ปี 2022 เป็นปีที่ท้าทายสำหรับโลกของเรา มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การแพร่ระบาดของ COVID-19 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Human-induced climate change) หรือแม้แต่ภัยพิบัติต่างๆ เช่น มลพิษทางอากาศ และน้ำท่วม ซึ่งเหตุการณ์เหล่าล้วนนี้มีผลกระทบต่อความยั่งยืนและอนาคตของมนุษย์ทั้งสิ้น
ด้วยความก้าวล้ำของเทคโนโลยีในปัจจุบัน เราจึงสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเตรียมรับมือสถานการณ์ที่หลากหลายได้ นั่นก็คือ เทคโนโลยี GIS ที่เป็นการนำ Geographic Approach และ Maps มาช่วยวิเคราะห์สถานการณ์ ให้เราเข้าใจปัญหา และหา Solution เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน เช่น การสร้าง COVID-19 Dashboard ที่แสดงผลในลักษณะของแผนที่ เพื่อติดตามสถานการณ์แบบ Real-time ทำให้เรามองเห็นภาพรวม และประเมินสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว และแม่นยำมากขึ้น
ซึ่งเทคโนโลยี GIS เองได้ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องให้สอดคล้องไปตามเทรนด์เทคโนโลยี และบูรณาการร่วมกับนวัตกรรมใหม่ ๆ มากมาย โดยมีการพัฒนาให้ใช้งานง่ายขึ้น สะดวก และรวดเร็ว เพื่อเตรียมพร้อมการแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที
สำหรับเทรนด์เทคโนโลยี GIS ที่เป็น Highlight ของปี 2023 ประกอบไปด้วย
Digital Twins & 3D GIS
การสร้างแบบจำลอง 3 มิติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นภาพรวมของข้อมูลทั้งด้านกายภาพและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับเมือง ไปจนถึงอาคาร และสินทรัพย์ในอาคารนั้น ๆ ช่วยในการวิเคราะห์และคาดการณ์ผลลัพธ์หรือภาพรวมที่จะเกิดขึ้น ในอนาคตได้ ตัวอย่างเช่น
- แบบจำลอง 3 มิติ สำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบของน้ำท่วมต่อสิ่งปลูกสร้าง (Flood Modelling)
- แบบจำลองการออกแบบ และก่อสร้างอาคารสีเขียว (Green Building, Smart Building) ตอบโจทย์ Smart City
- แบบจำลองโครงข่ายสาธารณูปโภค (Utility Network) สำหรับการจัดการ Smart Grids หรือข้อมูลระบบอื่น ๆ
Spatial Big Data Analytics & GeoAI
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ขั้นสูงที่ใช้เทคโนโลยีด้าน Deep Learning, Machine Learning และ AI เข้ามาทำงานร่วมกันผ่านเครื่องมือพร้อมใช้งานที่ไม่ต้องเขียนโค้ด ทำให้วิเคราะห์ได้สะดวกรวดเร็ว และแม่นยำยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น
- วางแผนการเดินรถบรรทุกส่งของในธุรกิจ Logistics ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อลดการใช้น้ำมันที่มีผลต่อ Carbon Footprint
- วิเคราะห์หาทำเลที่ตั้งของสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โรงพยาบาล หรือสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) ที่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด และให้ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม
- วิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมสำหรับการติดตั้งแผง Solar หรือ Solar Farms สำหรับการผลิตพลังงานที่ยั่งยืนด้วย Site Suitability Model
- วิเคราะห์ทิศทางและพลังงานลมสำหรับการผลิตพลังงานที่ยั่งยืน
- วิเคราะห์หาพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ เช่น ไฟป่า น้ำท่วม การตัดไม้ทำลายป่า และการปลูกป่า จากภาพถ่ายทางอากาศด้วย GeoAI และกระบวนการ Change Detection
No-code App Builders on Cloud
การสร้างแอปพลิเคชันที่ทันสมัยได้ง่าย ๆ และรวดเร็วโดยไม่ต้องเขียนโค้ด ช่วยในการเข้าถึงและแจ้งข้อมูลสำคัญทุกที่ ทุกเวลา บนทุกอุปกรณ์ โดยการทำงานที่ยืดหยุ่นบน Cloud นั้นตอบโจทย์การเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่รองรับการเข้าใช้งานจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภายในหรือประชาชนทั่วไป ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
Geo-collaboration hubs, Geospatial Infrastructure
สิ่งสำคัญในการแก้ไขปัญหาต่างๆ คือการแบ่งปันและเข้าถึงข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ประชาชน และเอกชน ในรูปแบบ Open Data ซึ่งหน่วยงานทุกภาคส่วนสามารถเผยแพร่แบ่งปันข้อมูลผ่าน Geo Collaboration Hubs ได้ทันที ด้วยการทำงานร่วมกันในรูปแบบ Web Portal ซึ่งช่วยลดเวลาและขั้นตอนในการจัดส่งข้อมูล ที่สามารถทำงานร่วมกันได้ตั้งแต่ระหว่างแผนก ไปถึงการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรระดับชาติ
Ready-to-Use Contents
ชุดข้อมูลพร้อมใช้งานที่หลากหลาย เพื่อเพิ่มมิติให้แก่การวิเคราะห์ ช่วยลดเวลาในการค้นหาข้อมูลจากหลายแหล่งด้วยข้อมูลพร้อมใช้งาน อีกทั้งชุดข้อมูลยังมีความถูกต้อง ตัวอย่างเช่น
- ข้อมูล ดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) หรือทิศทางลม ที่เป็น Live Feeds สำหรับการติดตามสถานการณ์แบบ Real-time
- ภาพถ่ายดาวเทียม Landsat และ Sentinel สำหรับการวิเคราะห์หาการเปลี่ยนแปลง
- ข้อมูลประชากร (Demographics) สำหรับการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งที่ครอบคลุม และการเข้าถึงสถานที่ได้อย่างเท่าเทียม
ค้นหาศักยภาพของเทคโนโลยี GIS กับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม