08 มี.ค. เทคโนโลยี GIS ตัวช่วยแก้ปัญหา Climate Crisis
เทคโนโลยี GIS ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือการทำแผนที่และการทำ Visualization เท่านั้น แต่สามารถใช้เพื่อ Analytics และ Prediction ได้ด้วย ทุกวันนี้เทคโนโลยี GIS มีส่วนร่วมอย่างมากและเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหา Climate Crisis ช่วยให้เรามองเห็น ประเมิน วิเคราะห์ และเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับโลกของเราได้ง่ายขึ้น รวมทั้งสามารถคาดการณ์ผลกระทบที่เกิดในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งบทบาทของเทคโนโลยี GIS เองจะช่วยใน 3 เรื่องหลักคือ
1. การช่วยประเมินผลกระทบ (Evaluating Impact)
หลายครั้งที่เหตุการณ์ฉุกเฉินหรือสภาวะวิกฤต ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ 100% แต่ด้วยเทคโนโลยี GIS ที่มีจุดเด่นด้วยการสื่อสารด้วยภาพหรือแผนที่ จึงช่วยให้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนกว่าข้อมูลแบบ Text หรือตัวเลขทั่วๆไป โดยสามารถที่จะ integrate การซ้อนทับของข้อมูลหลายๆ แหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ข้อมูล ประชากร ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน และอื่นๆ ทำให้เห็นตำแหน่งพื้นที่หรือบริเวณที่จะได้รับผลกระทบ และสามารถประเมินผลกระทบของ Crisis ปัจจุบันที่อาจเกิดขึ้นต่อประเทศ ชุมชน หรือธุรกิจได้
2. การช่วยวิเคราะห์ คาดการณ์ และจำลองสถานการณ์ต่างๆ เพื่อชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงหรือจุดเสี่ยงในอนาคต (Analyzing & Accessing Risks)
หลังจากที่รู้ตำแหน่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบแล้ว เทคโนโลยี GIS ยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์เพื่อชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงหรือจุดเสี่ยงในอนาคต ซึ่งเทคโนโลยี GIS เองสามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถของการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ได้มากขึ้น เช่น การวิเคราะห์คาดการณ์แนวโน้มของภัยพิบัติในอนาคตด้วย Deep Learning หรือการจำลองภาพรวมเหตุการณ์ในสถานการณ์ต่าง ๆ บนสภาพจริงแบบเรียลไทม์ด้วย Digital Twins ทำให้สามารถวางแผนรับมือกับปัจจุบันและเตรียมป้องกันสำหรับอนาคตได้ดีขึ้น ตลอดจนผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ทั้งคน สัตว์ และพืช สามารถประเมินความเสียหาย รวมถึงความเสี่ยงในเชิงพื้นที่
3. การช่วยหาโซลูชันที่เป็นแนวทางสู่การบริหารจัดการกับภัยจากธรรมชาติ (Action & Adaption)
สิ่งสำคัญของการรับมือกับภัยพิบัติ คือการสื่อสารจะต้องมีความชัดเจนและ Real-time ไปยังผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งเทคโนโลยี GIS จะเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้าง Action เพื่อการแก้ไขรับมือกับ Crisis ต่างๆ ด้วยเครื่องมือพร้อมใช้งานที่สะดวกต่อการพัฒนาต่อยอดได้ทันเหตุการณ์ สามารถสร้างเป็น Application เพื่อสื่อสารให้เห็นภาพรวมและผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชนก็สามารถเข้าถึงข้อมูลเพื่อวางแผนรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงที รวมถึงผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยังสามารถวิเคราะห์แนวทางแก้ไข โดยมีข้อมูลประกอบเพื่อการตัดสินใจ นำไปสู่การสร้างความเข้าใจในเชิงการบริหารจัดการสถานการณ์รวมทั้งทรัพยากรให้เหมาะสมที่สุด
Esri ในฐานะผู้ให้บริการด้าน Location Intelligence อันดับหนึ่ง Esri มุ่งมั่นในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศ ที่ล้วนมีผลกระทบต่อความยั่งยืนในอนาคต โดยการใช้เทคโนโลยี GIS เพื่อวิเคราะห์และทำความเข้าใจความเสี่ยงของภัยธรรมชาติ นำมาแสดงให้เห็นถึงรูปแบบ ความสัมพันธ์ของข้อมูลให้เห็นมุมมองที่แตกต่าง เพื่อสร้างความเข้าใจแบบองค์รวมอย่างครอบคลุม สู่การวางแผนดำเนินการแก้ปัญหาให้ตรงจุด เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนต่อไป
ขอบคุณที่มา: บทสัมภาษณ์พิเศษ คุณธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธานบริษัท Esri Thailand “ถอดโมเดล ‘Urban Hazard Studio’ สุดยอดฮับข้อมูลสภาพแวดล้อม จับตาภัยพิบัติ ‘กรุงเทพฯ’ หากเกิด ‘ฝนร้อยปี”
ค้นหาศักยภาพของเทคโนโลยี GIS กับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม