บริษัทออกแบบใช้โซลูชัน BIM ผสาน Geospatial เข้าช่วยในโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของสนามบิน

หนึ่งในสนามบินนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ มีโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น โดยทำการขยายและปรับปรุงเทอร์มินัลเดิม รวมทั้งเพิ่มอาคารเทียบเครื่องบิน (Concourse) พร้อมทำการเปลี่ยนหรือขยายประตูทางออกขึ้นเครื่องให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

บริษัท HNTB ผู้ให้บริการโซลูชันด้านโครงสร้างพื้นฐานจากสหรัฐฯ รับหน้าที่ออกแบบโครงสร้างหลักของเทอร์มินัลใหม่ และระบบอุโมงค์ส่วนกลางเพื่อใช้ลำเลียงสาธารณูปโภค กระเป๋า และผู้โดยสารไปยังอาคารเทียบเครื่องบิน

ในการออกแบบ ทีมงานจำเป็นต้องทราบถึงบริบทเชิงพื้นที่ หรือมุมมองของโลกจริงเพื่อที่จะทราบว่าแต่ละแบบส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานโดยรอบอย่างไร พวกเขาจึงเริ่มต้นด้วยการสร้าง Digital twin ในรูปแบบ 3D โมเดลที่ทำให้เห็นภาพโลกจริงซึ่งช่วยให้การทำงานร่วมกันง่ายยิ่งขึ้น พร้อมกับนำโซลูชันใหม่มาใช้ร่วมกับกระบวนการ BIM (Building information modeling) เพื่อให้มั่นใจว่าการออกแบบของพวกเขาจะสอดคล้องกับเทคโนโลยีด้าน Location intelligence ซึ่งโซลูชันใหม่นี้ทำให้ทีมงานเห็นภาพ 3D ผ่านเว็บไซต์ได้อย่างง่ายดาย ทั้งยังสามารถเชื่อมข้อมูลและระบบที่แตกต่างกันเพื่อให้การแชร์ข้อมูล การพัฒนาแผน และติดตามความคืบหน้ามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

ความท้าทาย

ในช่วงต้นของการสร้างระบบอุโมงค์ส่วนกลาง ทีมงาน HNTB นำ Digital twin มาใช้เป็นกลยุทธ์หลักเพื่อสร้างโมเดลในการออกแบบเบื้องต้น อย่างไรก็ดี เพื่อให้ทีมงานปรับการทำงานได้อย่างรวดเร็วตามการออกแบบที่เปลี่ยนไป พวกเขาจึงจำเป็นต้องสร้างกฎหรือกระบวนการบางอย่างเพื่อทำงานร่วมกับระบบที่มีความหลากหลายได้

ดาริน เวล์ช ผู้ดำรงตำแหน่ง Associate Vice President for Geospatial and Virtual Engagement Solutions ของบริษัท HNTB Technology Solutions Center มีความเห็นว่า “สิ่งสำคัญในการทำงานนี้คือต้องแน่ใจว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ ทำงานด้วยกันได้ แม้ว่าพวกเราจะใช้เทคโนโลยี Autodesk เป็นหลัก แต่ก็มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลด้าน GIS มากด้วยเช่นกัน ทั้งเทคโนโลยี GIS ยังสามารถสร้างภาพได้เป็นอย่างดี เราจึงต้องนำระบบ GIS และระบบอื่น ๆ มาใช้ร่วมกันเพื่อสร้าง Digital twin”

ก่อนหน้านี้บริษัทฯ ได้พัฒนากระบวนการและสร้างแอปพลิเคชันของโครงการ Long Island Rail Road Jamaica Station 5D ซึ่งเวล์ชกล่าวว่ามันคือโครงการแรกที่พวกเขาได้ทำงานกับข้อมูลที่หลากหลายจากระบบที่แตกต่างกัน ทั้งจาก GIS, CAD และ BIM และจากซอฟต์แวร์การจัดการพอร์ทโฟลิโอโครงการ ซึ่งความสำเร็จในการรวมข้อมูลจากระบบต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันทำให้บริษัทมีชื่อเสียงในอุตสาหกรรม เพราะสามารถทำให้ทีมงานมองเห็นภาพของข้อมูลจากระบบที่ต่างกันได้ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการออกแบบและการก่อสร้างอย่างยิ่ง

และด้วยเหตุนี้ อีเอสอาร์ไอจึงชวน HNTB ทดลองใช้ ArcGIS GeoBIM เป็นรายแรก ๆ ซึ่ง ArcGIS GeoBIM เป็นโซลูชันสำหรับโครงการ BIM ต่าง ๆ ที่สามารถทำงานร่วมกันบนเว็บไซต์ โดยเป็นการใช้ข้อมูลจาก Autodesk BIM 360* ที่ผสานข้อมูลเชิงพื้นที่จาก ArcGIS ซึ่งนับว่าเครื่องมือนี้มาในเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะบริษัท HNTB เพิ่งได้รับเลือกให้รับผิดชอบโครงการอุโมงค์ของสนามบิน และเวล์ชรู้ดีว่าการมีเครื่องมือและระบบต่าง ๆ ที่ทำงานผสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมีความสำคัญอย่างมาก

“เราเชื่อว่า ArcGIS GeoBIM จะช่วยให้เรามองภาพการออกแบบที่แตกต่างกันได้ดียิ่งขึ้น เพราะว่าระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่ใต้ดินถูกเขียนด้วยระบบที่ต่างกันทั้ง CAD และ GIS และเพราะนี่คือโมเดลการออกแบบแรก ๆ ของอุโมงค์ซึ่งเชื่อมต่อเข้ากับอาคารเทียบเครื่องบินและเทอร์มินัลใหม่ เราจึงจำเป็นต้องเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อระบบสาธารณูปโภคใต้ดินในรูปแบบสามมิติ เช่น ระบบระบายอากาศ

 

โซลูชัน

เวล์ชมีความเห็นว่า ArcGIS GeoBIM เหมาะอย่างยิ่งสำหรับโครงการอุโมงค์ของสนามบิน เพราะมันสามารถทำงานบนเว็บในการนำข้อมูลมารวมกันโดยไม่จำเป็นต้องแปลงข้อมูล ซึ่งสิ่งนี้สำคัญสำหรับทีมงานของเขามากและมันยังทำให้งานเสร็จเร็วยิ่งขึ้น เขายังเชื่อว่า ArcGIS GeoBIM และ Autodesk BIM 360 ทำให้การใช้ข้อมูลจากเครื่องมือที่ต่างกันเป็นเรื่องง่าย เหมือนเป็นการเชื่อมข้อมูลจากระบบหนึ่งสู่อีกระบบหนึ่งโดยไม่จำเป็นต้องแปลงข้อมูลแต่อย่างใด

เวล์ชกล่าวว่า “ทีมงานและลูกค้าของเราไม่มีใครต้องการดูชุดข้อมูลจากเครื่องมืออื่นหรือระบบอื่น ทั้งยังต้องทำให้ข้อมูลนั้นใช้งานได้กับระบบอื่นอีก มันไม่มีประสิทธิภาพเลยเพราะคุณต้องคอยแปลงข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ทั้งยังเสี่ยงเพราะได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือบางคนอาจจะใช้ข้อมูลที่แปลงมาแล้วแต่ไม่ทราบว่าเขาจำเป็นต้องแปลงกลับไปเป็นข้อมูลเดิมก่อนใช้งาน”

ในที่สุด Autodesk จึงร่วมมือกับ อีเอสอาร์ไอ เชื่อมการทำงานระหว่าง BIM และ GIS mapping เพื่อการทำงานที่ลื่นไหลยิ่งขึ้น ซึ่งนั่นก็คือ ArcGIS GeoBIM ที่สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมือ Autodesk Construction Cloud ต่าง ๆ เช่น Autodesk BIM 360 เวล์ชกล่าวว่า “เราตื่นเต้นมากที่ได้ทราบข่าวว่าทั้งสองร่วมมือกัน เพราะนี่คือสิ่งที่เรารอคอยที่จะรวมสองโซลูชันเข้าด้วยกันโดยไม่จำเป็นต้องแปลงข้อมูลอีกต่อไป”

ก้าวถัดไปของทีม HNTB คือการใช้ ArcGIS GeoBIM เป็น “Web-first GIS approach” ซึ่งพวกเขาอยากมุ่งเน้นด้านการออกแบบ 3D ให้มากขึ้นเพราะได้รับงานสร้างโมเดลและออกแบบ 3D ตั้งแต่แรกเริ่มมากขึ้น และพวกเขายังได้ใช้ ArcGIS GeoBIM ในการออกแบบอุโมงค์เพื่อที่ต้องการรู้ตำแหน่งที่อุโมงค์ควรถูกจัดวางและควรจัดวางอย่างไรเพื่ออำนวยความสะดวกในการลำเลียงกระเป๋าและสาธารณูปโภคให้มีประสิทธิภาพ

ArcGIS GeoBIM สามารถเชื่อมเข้ากับ Autodesk BIM 360 และทำให้การใช้งานบนเว็บเป็นเรื่องง่าย ทั้งยังช่วยให้ทีมงานทำงานร่วมกันเกี่ยวกับโครงการ BIM ได้โดยใช้ข้อมูลจากระบบที่หลากหลายภายใต้บริบทเชิงพื้นที่

 

ผลลัพธ์

การใช้ ArcGIS GeoBIM ในโครงการปรับโครงสร้างพื้นฐานของสนามบินขนาดใหญ่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ซึ่งเวล์ชเห็นว่าความได้เปรียบนั้นคือผู้ใช้สามารถใช้ ArcGIS BeoBIM ผ่านทางเว็บได้โดยตรงเพื่อดูข้อมูลของทีม HNTB บน Autodesk BIM 360 โดยไม่ต้องคำนึงว่าข้อมูลเหล่านั้นจะมาจากไหน นอกจากนั้น ลูกค้ายังสามารถเข้าถึงเนื้อหาต่าง ๆ เช่น ไฟล์ที่กำลังทำงานอยู่ และแผนที่ที่อัพเดทล่าสุด ผ่านจอเดียว ซึ่งเวล์ชเรียกการทำงานนี้ว่า “Web-first GIS approach”

เวล์ชกล่าวเสริมว่า ArcGIS GeoBIM ยังทำให้เกิดคอนเซ็ปต์ของ “Data cooperative” ไม่ว่าข้อมูลจะมาจากหลากหลายระบบแค่ไหน ผู้ใช้งานก็มั่นใจได้ว่าจะได้ใช้ข้อมูลที่มีความแม่นยำสูงสุด

เวลช์กล่าวว่า ArcGIS GeoBIM มีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะทำให้ทีมของเขาได้เห็นข้อมูลจากหลากหลายระบบผ่านแอปพลิเคชันเดียว เช่น ข้อมูล 3D ของการออกแบบโยธา สถาปัตยกรรม และระบบ GIS ของสาธารณูปโภคใต้ดิน ทั้งยังช่วยแจ้งเตือนหากเกิดปัญหาหรือมีคอมเมนต์ใด ๆ จากไซต์งาน “แต่ก่อนเรามักต้องเจอกับปัญหา Data silo อยู่บ่อย ๆ แต่ด้วยโซลูชันนี้ทำให้เรารวมข้อมูลทั้งหมดได้ภายใน Interface เดียว“

โดยปกติแล้วทีม HNTB ไม่ใช้เพียงเครื่องมือเดียวในการทำงาน ยกเว้นโครงการที่มีขนาดใหญ่ที่พวกเขาจะใช้เวลาไปกับการแปลงข้อมูล หรือดูข้อมูลที่แตกต่างกันบนหน้าจอเดียว เช่น ข้อมูลการก่อสร้าง สถาปัตยกรรม โครงสร้าง และข้อมูล GIS

“สำหรับเรา ArcGIS GeoBIM ทำให้การรวบรวมข้อมูลเป็นเรื่องง่ายผ่านโซลูชันเดียว ทั้งยังมีส่วนช่วยในการตัดสินใจ นอกจากนั้น ArcGIS GeoBIM ยังช่วยทำให้เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของการออกแบบอุโมงค์ล่าสุด และช่วยให้เราเข้าใจว่าการออกแบบนั้นส่งผลต่อสาธารณูปโภคอย่างไร เวล์ชกล่าวว่าเขาอยากให้ทีมงานทุกคนได้มีส่วนร่วมและสนุกไปกับประสบการณ์การสร้างภาพนี้

ArcGIS GeoBIM ใช้งานง่าย และทำงานได้ดีกับข้อมูล 3D ขนาดใหญ่ เวล์ชกล่าวว่าการที่เขามีความชำนาญด้าน GIS ทำให้เขามักคิดถึงไอเดียแก้ปัญหาโดยใช้บริบทเชิงพื้นที่ แต่เมื่อเราชวนผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น ๆ เช่น ทีมงานด้าน BIM มาร่วมทำงานโดยทำการรวบรวมและแสดงข้อมูลจากหลากหลายระบบ เช่น BIM และ GIS เห็นได้ว่าทีมงานด้าน BIM ก็เริ่มเสนอไอเดียแปลกใหม่ในการนำเครื่องมือนี้ไปใช้ได้อย่างน่าสนใจ

เวล์ชและทีมงานของ HNTB รอคอยที่จะใช้ ArcGIS GeoBIM ในโครงการที่มีความหลากหลาย หรือโครงการที่มีหลายระยะให้กับลูกค้าของเขา ซึ่งต้องทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายแขนง ซึ่งด้วยเครื่องมือนี้ทำให้แต่ละทีมสามารถเห็นข้อมูลล่าสุดที่มาจากหลากหลายระบบ เช่น BIM และ GIS ซึ่งรวมเข้าไว้ด้วยกันใน Interface ที่เข้าใจง่ายเพียงหนึ่งเดียว

“บางครั้งลูกค้าของเราเป็นเจ้าของและผู้ประกอบการ ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจภาพการออกแบบล่าสุด การพัฒนาแต่ละขั้น หรือผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงจากการออกแบบ ซึ่งเดี๋ยวนี้การเห็นแค่ภาพวาดบน PDF หรือแผนที่ หรือแผ่นกระดาษไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว ลูกค้าของเราต้องการมีส่วนร่วมในการพิจารณาและตัดสินใจ เราจึงเห็นว่า ArcGIS GeoBIM สามารถช่วยให้เราสามารถอธิบายโครงการที่ซับซ้อนให้กับทีมงานจากหลากหลายที่มา เพื่อให้ทราบและเข้าใจข้อมูลภาพเหล่านั้น พร้อมทั้งทราบปัญหาต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น” เวล์ชกล่าวทิ้งท้าย

 

 


 

ค้นหาศักยภาพของเทคโนโลยี GIS กับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม

 

อ่านเพิ่มเติม