03 พ.ค. รวม 4 เครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบวางผังเมืองให้มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ในทุกๆ กระบวนการของการวางผัง
ถ้าพูดถึงความเป็น Smart City ซึ่งเป็นปลายทางของการคิดที่จะทำเมืองให้มีคุณภาพและยั่งยืน สิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือต้นทาง หรือการออกแบบวางผัง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มของการเดินทางทั้งหมดของเมืองนั้น ๆ
การออกแบบวางผังเมืองให้เมืองมีคุณภาพ ไม่ใช่แค่การวาดภาพพบนกระดาษเปล่า แต่ยังต้องคำนึงถึงความเหมาะสมทางกายภาพ ว่าเมืองจะยืนอยู่บนสภาพแวดล้อมยังไง ต้องรับมือกับเงื่อนไขอะไรบ้าง เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น หรือแม้แต่การกำเนิดขึ้นของเมือง ย่อมจะก่อให้เกิดผลกกระทบและการบริโภคทรัพยากรต่าง ๆ จำนวนคนจะมากขึ้น จะมีขยะมากขึ้น จะมีน้ำเสียไหลผ่านออกมาสู่สภาพแวดล้อมมากขึ้น เมืองจะมี Solution การจัดการกับสิ่งเหล่านี้อย่างไร
จะเห็นว่าทุกสิ่ง ล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับการออกแบบวางผังและกระบวนการจัดการเมืองทั้งสิ้น ดังนั้นเครื่องมือที่จะช่วยทำให้การออกแบบวางผังมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับเงื่อนไขสภาพแวดล้อม คำนวณผลกระทบที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า เพื่อให้ผู้จัดการเมืองสามารถหาแนวทางรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการวางผัง
Esri ในฐานะหน่วยงานที่ผลักดันด้านสภาพแวดล้อมและความยั่งยืน ได้นำเสนอเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบวางผังที่ตอบโจทย์ในทุก ๆ ขั้นตอนกระบวนการ ดังนี้
1. ArcGIS GeoPlanner
ตัวช่วยในการวางผังเมืองรวม โดยสามารถบูรณาการชั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวางผัง มีเครื่องมือช่วยในการประเมินศักยภาพของพื้นที่ โดยสามารถระบุเงื่อนไขในการให้คะแนน กำหนด Weight Scoring เพื่อ Render ออกมาเป็นสีที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ศักยภาพตามเงื่อนไขนั้นๆ เครื่องมือนี้จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้นักวางผังรู้ว่าหากเขาต้องการกำหนดกรอบนโยบายให้พื้นที่บริเวณใดมีการใช้ประโยชน์แบบใด พื้นที่ใดจะเหมาะสมที่สุดตามเงื่อนไขนั้น ๆ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือให้นักวางผัง สามารถวาดการใช้ประโยชน์ กำหนดเงื่อนไขอนุญาตการใช้ประโยชน์ในแต่ละ zone และมี Report ที่ช่วยคำนวณว่าแต่ละการใช้ประโยชน์จะคิดเป็นพื้นที่เท่าไหร่ คาดการณ์ประชากรกี่คน เป็นต้น
2. ArcGIS Urban
Application ที่จะช่วยจำลองภาพผังของนักวางผังให้กลายเป็นรูปธรรมแบบ 3 มิติ เป็นเครื่องมือช่วยจำลองเงื่อนไขทางกายภาพของ Zone ให้เห็นเป็นภาพรวมของการพัฒนาเมืองและผลกระทบของการพัฒนาแบบ Scenario โดยจำลองการใช้ประโยชน์บน Plot ซึ่งนอกจากจะทำให้นักวางผังเห็นภาพของการพัฒนาบนเงื่อนไขที่เขาระบุแล้ว ArcGIS Urban ยังเป็นเครื่องมือที่จะช่วย Communicate ระหว่างนักวางผัง นักออกแบบ นักพัฒนา และเอกชนผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ อีกด้วย
3. ArcGIS CityEngine
โปรแกรมสำหรับออกแบบอาคารและกลุ่มอาคารที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของผัง เมื่อมีการวางผัง มีการวาง Framework มาแล้ว ArcGIS CityEngine จะทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการทำ Design Guideline ของการออกแบบอาคารภายใต้กรอบของการวางผังนั้น ๆ การทำงานของ ArcGIS CityEngine จะไม่ได้เน้นเป็นการขึ้นโมเดลทีละอาคาร แต่ละเป็นการทำงานแบบ Rule Base Modelling กล่าวคือ เป็นการดึงข้อกำหนดมาเป็นเงื่อนไขในการจำลองอาคาร 3 มิติ โดยรายละเอียดของอาคารจะขึ้นอยู่กับรายละเอียดใน Rule Base นั้นๆ ซึ่งนอกจากอาคารแล้ว ArcGIS CityEngine ยังสามารถจำลองรายละเอียดของสภาพแวดล้อมให้เป็น 3 มิติได้ด้วย เช่น ถนน, น้ำ, ภูมิทัศน์ เป็นต้น
4. ArcGIS Hub
ช่องทางสำหรับการสื่อสารกับประชาชน เมื่อนักวางผังและนักพัฒนาทำหน้าที่ในส่วนของตัวเองแล้ว ประชาชนย่อมอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขาบ้าง จะมีโครงการไหนที่จะพัฒนาในบริเวณที่เค้าอยู่บ้าง จะมีการเวนคืนตรงไหนบ้าง ArcGIS Hub จึงเข้ามาเป็นช่องทางในการให้ข้อมูลด้านการออกแบบวางผังให้ประชาชนรับรู้ พร้อมกับข้อมูลอื่นๆ เปรียบเสมือนเป็น Open Data พร้อมทั้งมีช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมแบบดิจิตอล (Digital Engagement) ซึ่งสะดวก รวดเร็วและเข้าถึงง่ายโดยไม่ต้องเดินทาง
จะเห็นว่าทุก Application ครอบคลุมการทำงานด้านกระบวนการวางผังเมือง ตั้งแต่นักวางผัง (Urban Planner) ไปจนถึงนักพัฒนาเมือง (Urban Developer) ที่เป็นผู้กำหนด Framework ในสเกลเมือง ส่งต่อให้นักออกแบบเมือง (Urban Designer) ที่เป็นผู้ออกแบบการใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของผัง ดูความเป็นไปได้ในการพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เกิดอัตลักษณ์ของเมืองบนเอกภาพของการออกแบบ นำมาสู่หน้าที่ของนักพัฒนาเมือง (Urban Developer) ที่จะเป็นผู้ออกแบบอาคารและการใช้ประโยชน์ให้ตอบโจทย์การบริหารทรัพยากรในท้องถิ่น
ดังนั้น Smart City อาจจะไม่ใช่เรื่องยากและไกลตัว แต่ทุกส่วนล้วนเป็นหนึ่งกลไลที่ทำให้การบริหารจัดการเมืองมีประสิทธิภาพ ในทางกลับกัน ก็อาจกล่าวได้ว่า การเริ่มต้นการเป็นเมืองอัจฉริยะ อยู่ที่การวางระบบ และจัดสรรเครื่องมือให้ตอบโจทย์ส่วนงานในแต่ละระบบ เพื่อช่วยขับเคลื่อนในแต่ละฟันเฟืองให้หมุนไปข้างหน้าพร้อมๆ กัน นำไปสู่ความเป็น Smart City ในที่สุด
ค้นหาศักยภาพของเทคโนโลยี GIS กับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม