04 ก.ค. Data for Decision: สิ่งก่อสร้างแบบใหม่แก้วิกฤติทางอากาศ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตทางอากาศนั้นมาจากสิ่งก่อสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาคาร ถนน และระบบสาธารณูปโภค เหล่านี้ส่งผลให้เกิดเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศจนกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและธรรมชาติ ดังนั้น หากเราต้องการโลกที่ยั่งยืนในอนาคต เราทุกคนต้องให้ความสำคัญในทุกชีวิตและสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้สิ่งเหล่านี้เติบโตและอยู่รอดอย่างยั่งยืน
ทราบหรือไม่ว่าอาคารต่าง ๆ มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลกมากกว่า 40 เปอร์เซนต์ และยังมีต้นทุนคาร์บอนจากการขนส่งวัสดุ กระบวนการก่อสร้างอาคาร และการใช้พลังงานที่ไร้ประสิทธิภาพตลอดอายุของตัวอาคาร ดังนั้น ถ้าเราต้องการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและปกป้องโลกให้ได้ผล จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนตั้งแต่วิธีการออกแบบอาคาร การจัดการ และการใช้อาคาร และทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงผลกระทบที่เราได้กระทำต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเราทุกคนมีส่วนรับผิดชอบในการจัดการโลกใบนี้ที่มีเพียงหนึ่งเดียว
อย่างไรก็ดี มีเครื่องมือและเทคโนโลยีมากมายที่เกื้อหนุนให้อาคารสามารถเปลี่ยนไปสู่การปล่อยก๊าซที่เป็นศูนย์ (Net-zero carbon emissions) เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และการทำแผนที่แบบ Facility mapping ซึ่งทำให้เราทราบข้อมูลเชิงลึกในสิ่งก่อสร้างทั้งหมด ทั้งยังทำให้เห็นภาพกว้างและทำให้เราเข้าใจในผลกระทบต่อโลกที่มาจากการตัดสินใจของเรา นอกจากนั้น ข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยี GIS ยังช่วยให้เราได้ศึกษาสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์และธรรมชาติสร้างขึ้น เพื่อประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และทราบถึงต้นเหตุของปัญหาเหล่านั้น
การใช้อาคารทำลายสภาพอากาศ แต่เราเปลี่ยนมันได้
อาคารต่าง ๆ คือตัวต้นเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกถึงเกือบครึ่งของโลก ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะลดการปล่อยก๊าซของอาคารเหล่านี้ และถึงแม้จะใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพแค่ไหนก็ยังไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาได้ ทราบหรือไม่ว่าตั้งแต่ ค.ศ. 1989 เป็นต้นมา อาคารสำนักงานถูกสร้างให้มีขนาดใหญ่มากขึ้นถึง 17 เปอร์เซนต์ แม้มีจำนวนคนทำงานต่ออาคารไม่แตกต่างจากเดิม เราจึงจำเป็นต้องปรับรูปแบบการก่อสร้างเสียใหม่ให้สอดรับกับการใช้งานและการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เพราะหากเราไม่ปรับตัว เราก็จะไม่สามารถลดคาร์บอนฟุตปรินต์ได้
อย่างไรแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นตัวแปรสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจก เช่น การแย่งชิงความสำคัญระหว่างเป้าหมายทางธุรกิจของเจ้าของอาคาร หรือการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก รวมไปถึงการขาดความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาอย่างแท้จริง เห็นได้ว่าการลดก๊าซเรือนกระจกไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย แต่หากไม่ลงมือทำ เราอาจไม่มีอนาคตที่ยั่งยืนส่งต่อให้ลูกหลานได้
หาความสมดุล ปรับเปลี่ยนตามโลก
หากเรายังคงเพิกเฉย โลกย่อมได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและยากเกินแก้ เช่น สภาวะอากาศสุดขั้วกลายเป็นความปกติใหม่ และความหวาดหวั่นของคนทั่วโลกเมื่ออากาศร้อนขึ้นจนส่งผลกระทบต่อระดับน้ำทะเล เราจึงจำเป็นต้องลดการบริโภคที่มากเกินพอดีเพื่อให้โลกไม่ถูกทำลายไปกว่านี้
ซึ่งการจะลงมือทำนั้นเต็มไปด้วยอุปสรรค เช่น การต่อต้านจากผู้คนที่กินดีอยู่ดี และความไม่รู้ว่าเราเป็นผู้สร้างผลกระทบต่อโลก อย่างไรก็ดี หากเราเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งก่อสร้างและสิ่งแวดล้อม เราย่อมสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะเมื่อเรามีข้อมูลและเครื่องมือสำหรับจัดการสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ย่อมเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่จะเอาชนะอุปสรรค และสามารถสร้างความสมดุลให้กับโลก ความเข้าใจจึงเป็นสิ่งสำคัญเหนือการลงมือทำ และวันนี้มนุษย์ทุกคนต้องช่วยกันรักษาโลกใบนี้ให้มากยิ่งขึ้น
หนึ่งภาคส่วนสำคัญที่มีความก้าวหน้าอย่างมาก คือ การบริหารทรัพยากรอาคาร (Facilities management)
การนำเทคโนโลยี GIS มาใช้ในการจัดการอาคาร สามารถช่วยลดคาร์บอนฟุตปรินต์ได้อย่างมาก เพราะทำให้เรารู้ว่าพื้นที่ใดไร้ประสิทธิภาพหรือไร้ประโยชน์ ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการออกแบบ การจัดการ และการใช้อาคาร และช่วยในการสร้างนโยบายเพื่อความยั่งยืน
การใช้พื้นที่อย่างชาญฉลาดเริ่มจากความเข้าใจความแตกต่างในการใช้งานของแต่ละพื้นที่ภายในอาคาร แล้วจึงนำข้อมูลไปใช้เพื่อตัดสินใจจัดสรรพื้นที่ตามอัตราการเข้าใช้งาน ความจุ และสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เหมาะสมกับเป้าหมายทางธุรกิจ
ปัจจุบันมีเครื่องมือ GIS รูปแบบใหม่ที่ทำให้เราสามารถสร้างสิ่งก่อสร้างในรูปแบบดิจิทัล โดยเปลี่ยนงานออกแบบและเอกสารการจัดการให้กลายเป็นโลกเสมือนทางดิจิทัลและข้อมูลดิจิทัลที่ทำงานร่วมกับเทคโนโลยี GIS ได้ ทำให้ผู้ใช้เข้าใจบริบททางภูมิศาสตร์ของอาคารมากยิ่งขึ้น เราจะไม่มองอาคารเป็นสิ่งแปลกแยกอีกต่อไป และเข้าใจวิธีที่จะผสานอาคารให้อยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างลงตัว นอกจากนั้น การใช้เทคโนโลยี GIS สร้าง Digital twin ของอาคารและสภาพแวดล้อมโดยรอบช่วยให้ผู้จัดการบำรุงรักษาอาคาร (Facility manager) สามารถระบุพื้นที่ที่จำเป็นต้องทำการปรับปรุง และวางแผนในการลดคาร์บอนฟุตปรินต์และผลกระทบอื่น ๆ ต่อสิ่งแวดล้อม
ร่วมมือกันสร้างสมดุลใหม่
เทคโนโลยี GIS มีระบบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดทำนโยบายที่ออกกฎระเบียบต่าง ๆ ผู้จัดการบำรุงรักษาอาคารที่ควบคุมโครงการก่อสร้างตั้งแต่การออกแบบจวบจนการบำรุงรักษา นักวางผังเมืองผู้ออกแบบชุมชนเพื่อความยั่งยืนหรือเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาส และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีผู้สร้างเครื่องมือเพื่ออนาคตที่ดียิ่งขึ้น อาชีพเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนโลก และเมื่อนำเทคโนโลยี GIS มาใช้ย่อมช่วยเพิ่มศักยภาพของข้อมูลให้มีค่ายิ่งขึ้นเพื่อการวิเคราะห์ผลกระทบ และเพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำ
เราต้องสร้างทิศทางใหม่ที่ยั่งยืนให้กับโลก และต้องมั่นใจว่าการตัดสินใจของเราในวันนี้จะสร้างอนาคตที่ดีกว่า ดังนั้น เราทุกคนต้องนำความรู้ความสามารถมาช่วยกัน และนำเครื่องมือในการจัดการข้อมูลที่ล้ำหน้ามาเชื่อมต่อเหล่านักคิดและผู้กล้าทั้งหลายให้รวมกันเป็นหนึ่งเดียว เมื่อเราพร้อมทั้งเครื่องมือ ข้อมูล และความร่วมมือ เราย่อมมีองค์ความรู้ที่มากพอที่จะเปลี่ยนทุกบริบทของสิ่งก่อสร้างสู่ความยั่งยืน
ค้นหาศักยภาพของเทคโนโลยี GIS กับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม