20 เม.ย. รวม Business Cases ที่น่าสนใจในการนำ Location Intelligence มาประยุกต์ใช้ในองค์กร เบื้องหลังความสำเร็จทางธุรกิจ
เทคโนโลยีมีส่วนช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจที่สำคัญมากมาย โดยเฉพาะเทคโนโลยี GIS ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยผู้บริหารทำการวิเคราะห์ข้อมูลบนพื้นฐานของโลเคชันเพื่อการตัดสินใจที่เฉียบคมยิ่งขึ้น ปัจจุบันเทคโนโลยี GIS ได้เข้าไปอยู่ในหลากหลายภาคส่วนของโลกการค้า ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งนำเทคโนโลยี GIS และการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ไปใช้ในการติดตามกิจกรรมทาง Social media เพื่อรับรู้ถึง Brand preference ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศและเพื่อใช้งบทางการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนธุรกิจประกันใช้เทคโนโลยี GIS ในการวิเคราะห์ Hot Spot ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ Artificial intelligence ในการค้นหาเทรนด์ต่าง ๆ ใน Big data ที่นักวิเคราะห์ไม่สามารถมองเห็นได้ เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านราคาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนในฝั่งนักวางผังเมืองได้นำเทคโนโลยี GIS ในรูปแบบ 3D Mapping ไปใช้ในการออกแบบวาดภาพ Smart City ทำให้ประหยัดเวลาจากการสร้างภาพด้วยวิธีเดิม ๆ พร้อมเผยให้เห็นโอกาสของนวัตกรรมใหม่ ๆ ในขณะที่ธุรกิจค้าปลีกได้ใช้ Lidar เพื่อวางแผนร้านค้า รวมทั้งใช้เทคโนโลยีอย่าง Li-Fi เพื่อทำความเข้าใจในความพึงพอใจของนักช้อป
เนื่องจากเทคโนโลยี GIS เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในบริบทของภูมิศาสตร์และเวลา เมื่อธุรกิจนำไปใช้จะช่วยให้เห็นภาพของข้อมูลที่ผูกเข้ากับโลเคชันต่าง ๆ โดยเฉพาะ ผู้บริหารจึงสามารถตอบคำถามได้มากมาย เช่น เราจะสามารถเคลื่อนย้ายสินทรัพย์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อลดค่าใช้จ่าย หรือเทรนด์ของ Demographic และ Psychographic ในโลเคชันไหนที่น่าจะมีกำไรเหมาะจะเปิดร้านใหม่ของเรา บางบริษัทนำเทคโนโลยี GIS ไปใช้เพื่อค้นหา Insight ใหม่ๆ ในขณะที่บางบริษัทก็นำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ของธุรกิจ เราจะพาคุณไปค้นพบประโยชน์ที่สามารถวัดผลได้มากมายเมื่อบริษัทต่าง ๆ นำเทคโนโลยี GIS ไปปรับใช้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ของธุรกิจ ดังนี้
Supply Chain Optimization
เทคโนโลยี GIS มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับธุรกิจที่มีพื้นฐานอยู่บนการเคลื่อนไหวสินทรัพย์ตลอด Supply Chain การใช้ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากอุปกรณ์เคลื่อนที่ RFID tag และ IoT ช่วยให้บริษัทมองเห็น Real-time intelligence ของการเคลื่อนที่ของสินทรัพย์และเห็น Insight ที่ช่วยให้บริษัทวางแผนการเคลื่อนที่สินทรัพย์เหล่านั้นได้ดีขึ้น
หนึ่งในผู้ชำนาญการในการใช้เทคโนโลยี GIS อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด คือ บริษัท UPS ซึ่งทางบริษัทและทีมวิศวกรได้นำประโยชน์จากการวิเคราะห์ Operational analytics ไปใช้เพื่อคิดริเริ่มวิธีการต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าตลอดมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นธุรกิจจนถึงปัจจุบันที่เกิดนวัตกรรมต่าง ๆ มากมาย เทคโนโลยี GIS ช่วย UPS ในการออกนโยบายที่มีประสิทธิภาพมากมาย หนึ่งในนั้นคือนโยบาย No-lefts หรือการหลีกเลี่ยงการเลี้ยวซ้าย ทำให้คนขับไม่จำเป็นต้องขับรถข้ามถนนจึงช่วยลดเวลาและเพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น และเมื่อไม่นานมานี้ UPS ได้เริ่มนำระบบ ORION (On Road Integrated Optimization and Navigation) ของเทคโนโลยี GIS ไปใช้ โดยระบบ ORION ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมระบบโลจิสติกส์ ทำการวิเคราะห์จุดที่คนขับควรหยุดเมื่อเทียบกับตัวแปรต่าง ๆ เช่น เวลาในการขนส่ง และน้ำมันที่ใช้ แม้หลายครั้งเมื่อใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ขั้นสูงทำให้ระบบเลือกเส้นทางขนส่งที่ขัดใจมนุษย์บ้าง แต่ผลที่ได้รับสร้างประโยชน์ที่วัดผลได้จำนวนมากให้กับองค์กรและลูกค้า
ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยี GIS เข้ากับเทคโนโลยีอัจฉริยะทางธุรกิจ ช่วยให้ UPS ประหยัดการเดินทางได้มากถึง 100 ล้านไมล์ น้ำมัน 10 ล้านแกลลอน และเงินราว ๆ 300-400 ล้านเหรียญสหรัฐ
Location Planning
ทีมนักวิเคราะห์ของร้านจำหน่ายอุปกรณ์กีฬาขนาดใหญ่ในประเทศอเมริกานำเทคโนโลยี GIS ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ กล่าวคือ
- ใช้ในการวางแนวทางการขยายเครือข่ายร้านค้าเพื่อเป็นผู้นำทางการตลาด
- เจาะลึกความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายออนไลน์และร้านค้า
- รายงานการรุกหน้าสู่ร้านค้ารูปแบบใหม่
ร้านอุปกรณ์กีฬา DICK’s ใช้ Location intelligence จากเทคโนโลยี GIS เพื่อทำความเข้าใจแลนด์สเคปร้านค้าทั้งแบบร้านค้าปลีกและแบบดิจิตอล นักวิเคราะห์ของบรษัทใช้ GIS ทำการวิเคราะห์เทรนด์ Demographics และการใช้จ่ายออนไลน์ที่ช่วยให้เห็นโลเคชันที่เหมาะสมในการเปิดร้านใหม่ ในช่วงเวลาที่บริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมต่างพยายามทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของยอดขายร้านค้าและการซื้อของออนไลน์ และหลายแบรนด์ยังขาดข้อมูล Insight ในการสร้างกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและตอบความต้องการของลูกค้าทั้ง 2 ช่องทาง แต่ที่ DICK’s การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ช่วยให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจค้นพบความลงตัวของ Omnichannel ได้
Bill Grassel ผู้ดำรงตำแหน่ง Director of Real Estate Market Research and Strategy ของร้านอุปกรณ์กีฬา DICK’s กล่าวว่า “หากใช้วิธีคิดแบบเดิม ร้านค้าจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากอีคอมเมิร์ซ และเราอาจไม่จำเป็นต้องมีร้านค้ามากเท่าเดิมอีกต่อไป แต่การวิเคราะห์เชิงพื้นที่ทำให้เราเห็นว่าการเพิ่มร้านค้ามากขึ้น ทำให้ยอดขาย Omnichannel ของเราเพิ่มขึ้นด้วย”
จากเดิมเทคโนโลยี GIS ใช้เพียงเพื่อการวิเคราะห์ Demographics ของลูกค้าและการวางแผนโลเคชันของร้านค้า แต่ปัจจุบัน GIS ได้ขยายไปในแผนกต่าง ๆ เพื่อช่วยผู้มีอำนาจตัดสินใจมองเห็นเทรนด์ของลูกค้า วางแผนแคมเปญทางการตลาด และเข้าใจความสัมพันธ์ของช่องทางการขาย ผู้บริหารปัจจุบันวางใจนำ GIS ไปใช้ประกอบการตัดสินใจที่เร็วขึ้นและแม่นยำขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเงินจำนวนมหาศาล
Asset Management
บริษัทประกอบธุรกิจสาธารณูปโภคเป็นผู้เชี่ยวชาญการใช้ IoT และ GIS ก่อนที่เราจะเริ่มใช้คำว่า Internet of Things เสียอีก โดยเทคโนโลยี GIS ถูกนำไปใช้ในการมอนิเตอร์สินทรัพย์หลายพันชนิดซึ่งมักเป็นการจัดการที่วุ่นวายและซับซ้อน ในการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าและการบริหารจัดการน้ำนั้น โดยทั่วไปแล้วจะนำเทคโนโลยี GIS ไปทำงานร่วมกับระบบ Supervisory Control And Data Acquisition (SCADA) โดย GIS ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการวิเคราะห์โลเคชัน และ SCADA ทำหน้าที่มอนิเตอร์วาล์วควบคุมอัตราการไหล สวิตช์ไฟ และสินทรัพย์อื่น ๆ ในแบบเรียลไทม์ การทำงานร่วมกันนี้ทำให้ธุรกิจสาธารณูปโภคสามารถปรับปรุงสินทรัพย์ได้ตลอดเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
ธุรกิจประปาแห่งหนึ่งในฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกา ใช้เทคโนโลยี GIS เพื่อช่วยให้ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการสามารถมองเห็นภาพการมอนิเตอร์สถานะของระดับแทงก์น้ำ ความดัน อัตราการไหล และปัจจัยสำคัญอื่น ๆ การนำข้อมูล SCADA ไปใส่ในแผนที่ของ GIS ช่วยให้ผู้จัดการมองเห็นการปฏิบัติการต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งนับเป็นเป็นองค์ประกอบสำคัญของ Operational intelligence ที่ช่วยผลักดันให้เกิดการตัดสินใจที่ดีทางธุรกิจ
ในบรรดาแหล่งข้อมูล Insight ต่าง ๆ มากมาย การเห็นภาพแบบเรียลไทม์ช่วยให้ผู้จัดการเข้าใจอย่างชัดเจนถึงปริมาณที่น้ำพอดีต่อความต้องการของผู้บริโภคตลอดพื้นที่ให้บริการ ในขณะที่แต่ก่อนมีการใช้ข้อมูลแตกต่างกับแบบเรียลไทม์ คือผู้จัดการจะประมาณการความต้องการจาก Spreadsheet ของระดับแทงก์และอัตราการไหลล่าสุดทำให้เกิดการผลิตน้ำที่มากเกินจำเป็น ในขณะที่ปัจจุบันเมื่อผู้จัดการได้เห็นสถานะของแต่ละระบบบนแผนที่ย่อมสามารถบริหารระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
เมื่อใช้ Map-based view ในสภาวะการทำงานแบบเรียลไทม์ ธุรกิจสาธารณูปโภคจึงตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้โดยไม่สิ้นเปลืองเกินไป สิ่งนี้ย่อมสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภคได้มากกว่า ทั้งยังทำให้ต้นทุนด้านการปฏิบัติการลดน้อยลงด้วย
New Product Development
เทคโนโลยี GIS ยังสามารถชี้นำแผนเพิ่มเติมให้กับบริษัท DICK’s ผ่านการใช้ Delivering intelligence ในการหาว่าลูกค้าที่มีศักยภาพอาศัยและทำงานอยู่ที่ไหน เทคโนโลยี GIS ยังสามารถมอบ Insight ในเรื่องพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่เดิมเพื่อช่วยให้บริษัทขยายบริการและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ตรงตามความต้องการอีกด้วย
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ธุรกิจเชนร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีชื่อเสียงชื่อ Fortune ซึ่งมี 200 บริษัทและหลายพันเอาต์เล็ตทั่วโลก ก็วางใจใช้เทคโนโลยี GIS เมื่อต้องตัดสินใจเลือกโลเคชันที่เหมาะสมทุกครั้งที่เปิดร้านใหม่ นอกจากนั้นผู้บริหารยังนำเทคโนโลยี GIS ไปใช้เพื่อเข้าใจฐานลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น และเมื่อไม่นานมานี้บริษัทได้ใช้ Location data ในการตัดสินใจว่าจะเลือกที่ไหนในการโปรโมต Mobile app ใหม่ซึ่งเป็นแอปที่ให้ลูกค้าจ่ายเงินผ่านมือถือและติดตามรางวัลของพวกเขาได้ ซึ่งเทคโนโลยี GIS ช่วยให้บริษัทเห็นพื้นที่ที่มีการใช้มือถือเป็นจำนวนมากและทำการโปรโมต Mobile app ในพื้นที่ที่เกิดผลมากที่สุด ในขณะที่นักวางแผนก็ใช้เทคโนโลยี GIS ในการวิเคราะห์การเปิดตัวของอีเวนต์ใหม่ได้เช่นกัน โดยเจาะร้านค้าที่มีผู้คนเดินผ่านหน้าร้านจำนวนมากและมีการจับจ่ายสูงในช่วงเย็น
นอกเหนือจากประโยชน์ในการวางแผนระยะยาวสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการใหม่แล้ว เทคโนโลยี GIS ยังช่วยบริษัทปรับโปรโมชันแบบเรียลไทม์หากมีการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ใด ๆ เช่น อากาศเปลี่ยน เมื่อรู้ผลพยากรณ์อากาศแล้วนักวางแผนอาจตัดสินใจเลือกร้านเพื่อทำโปรโมชัน เช่น จัดโปรโมชันคูปองเครื่องดื่มเย็นสำหรับลูกค้าในเขตพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น เห็นได้ว่าเมื่อมีทีมที่สร้างสรรค์พร้อมด้วยเทคโนโลยี GIS แล้วทุกรายละเอียดมีค่าเสมอ ไม่เว้นแม้แต่การจัดเตรียมทีมงานและสินค้าคงคลังตามกิจกรรมของชุมชนในเขตที่อยู่อาศัยรอบ ๆ ร้านค้าก็สามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยี GIS
หนึ่งในเชนธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มขนาดใหญ่ที่สุดของโลกยกเครดิตให้กับเทคโนโลยี GIS ที่ช่วยให้บริษัทเติบโตทั้งทางผลกำไรและความน่าเชื่อถือ
เทคโนโลยี GIS เพื่อองค์กร
ตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นนี้แสดงให้เห็นวิธีการต่าง ๆ ที่เทคโนโลยี GIS สามารถสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจ และยังสามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายตามแต่การย่อยข้อมูลของแต่ละบริษัท ในหลากหลายบริษัทชั้นนำต่างนำความอัจฉริยะของเทคโนโลยี GIS ไปให้พนักงานในองค์กรได้ใช้ประโยชน์ในอุปกรณ์ต่าง ๆ กัน ทั้งนี้ ผู้จัดการสามารถตั้งค่าเพื่อป้องกันข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนจากบางกลุ่มคน และยังสามารถวางแผนการทำงานตามความรับผิดชอบของพนักงานได้อีกด้วย
สำหรับผู้บริหารที่อาจกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไปในการประยุกต์ใช้ IT ในโครงการต่าง ๆ ก็สามารถเบาใจได้ เพราะโซลูชันของ GIS ใช้ API แบบมาตรฐานในการเก็บข้อมูลทั้งจากฝ่าย Customer relationship management (CRM), Enterprise Resource Planning (ERP) และ ระบบอื่น ๆ ทั่วทั้งบริษัท นอกจากนั้น ในระดับผู้บริหารก็สามารถใช้ GIS Dashboard เพื่อช่วยในการตัดสินใจเชิงปฏิบัติการและการวางแผนกลยุทธ์ บางบริษัทถึงกับเปิด GIS portal ให้พาร์ทเนอร์และซัพพลายเออร์ได้ใช้เพื่อเพิ่ม Internal Intelligence ตลอด Supply chain นวัตกรรมต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้ล้วนช่วยให้ผู้ใช้เทคโนโลยี GIS มีแต้มต่อทางธุรกิจเหนือคู่แข่งด้วยประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นทั้งในด้านปฏิบัติการ โอกาสสร้างรายได้ และการกระตุ้น Customer loyalty
ค้นหาศักยภาพของเทคโนโลยี GIS กับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม