วิกฤต COVID-19 จะปรับเปลี่ยน Suppy Chain ทั่วโลกหรือไม่

ภัยพิบัติทางธรรมชาติสร้างผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งยังส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจโลก ในภาคการค้า โรงงานการผลิต การขนส่งสินค้าอัตราภาษี ระหว่างมหาอำนาจผลักดันให้เกิดค่าใช้จ่ายในการค้าระหว่างประเทศสูงขึ้น ส่งผลให้มีการปิดโรงงาน ปิดกิจการ เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก

ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำกลยุทธ์การรับมือที่แตกต่างกัน บางส่วนกล่าวว่าผู้ผลิตควรทำให้ห่วงโซ่อุปทานอยู่ภายในภูมิภาค เป็นการจำกัดไว้ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เล็กกว่า เพื่อสร้างความมั่นคงหรือความต่อเนื่องในการเข้าถึง บางส่วนแนะนำการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ให้มากขึ้น – การสร้างแหล่งที่มาจากหลายๆแหล่งทั่วโลก เพื่อลดความเสี่ยงของการหยุดชะงักทางธุรกิจ

ถึงแม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ทั้งสองวิธีนี้ก็มี Supply Chain เป็นส่วนสำคัญ ในฐานะที่ปรึกษาความเสี่ยงระดับโลกและนายหน้าประกันภัย วิลลิส ทาวเวอร์ วัตสัน อธิบายว่า บริษัทต่างๆ ควรรู้ว่าใครเป็นผู้จัดหาซัพพลายเออร์ นั่นคือพวกเขาควรจัดทำบัญชีซัพพลายเออร์ แต่บริษัทบางแห่งไม่เพียงแต่ทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ระดับแรกของพวกเขา แต่ยังพัฒนาความสามารถในการมองเห็นไปถึงซัพพลายเออร์ระดับที่สองและสาม สิ่งที่ดีที่สุดที่บริษัทสามารถทำได้ คือทำความเข้าใจความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานของตนเอง และพัฒนาวิธีการลดผลกระทบล่วงหน้า นอกจากนี้การเพิ่มระดับของสินค้าคงคลังจะมีประโยชน์อย่างมากเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติต่างๆ

Harvard Business Review เดือนมีนาคม ระบุว่า “ Coronavirus ทำให้การจัดการทางด้านซัพพลายเชนตื่นตัว” ศาสตราจารย์รัฐแอริโซนา โทมัส วาย ชอยและเดล โรเจอร์ส เสริมมุมมองดังกล่าว โดยกล่าวว่า แม้จะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าธุรกิจหรืออุตสาหกรรมใดบ้างที่จะต้องหยุดชะงักจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และจะส่งผลกระทบต่อพวกเขาอย่างไร  อุตสาหกรรมใดบ้างที่จะตกอยู่ในความเสี่ยงโดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ด้านห่วงโซ่อุปทาน จากประสบการณ์ผู้ที่มีสินค้าคงคลังอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กจะมีความเสี่ยงมากที่สุด ผู้บริหารบางคนค้นพบว่า การรับรู้ห่วงโซ่อุปทานขึ้นอยู่กับระบบบอกตำแหน่งอัจฉริยะ การทำแผนที่ที่ตั้งของโรงงาน ศูนย์กระจายสินค้า และเส้นทางการขนส่ง ช่วยให้บริษัทสามารถปรับเปลี่ยนแผนได้อย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการลดความเสี่ยง นอกจากนี้ยังให้แนวทางการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและยาวนานขึ้นหากพวกเขากล้าพอที่จะทำ

ในปี 2018 สหรัฐอเมริกาเริ่มสงครามการค้ากับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน ภาษีศุลกากรหลายพันล้านดอลลาร์สร้างผลกระทบอย่างมากต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและกำไรของบริษัท การคิดห่วงโซ่อุปทานกลับมาเป็นกระแสอีกครั้งและบางบริษัทก็ทำการปรับเปลี่ยน ยกตัวอย่างเช่น ซัพพลายเออร์ของ Apple หลายคนเริ่มวางแผนที่จะย้ายการผลิตออกจากประเทศจีนตามรายงานของ Bloomberg แต่บริษัท ไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบพื้นฐาน พวกเขาส่วนใหญ่เปลี่ยนการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ เช่น เวียดนาม อินโดนีเซียและอินเดียซึ่งหมายความว่าห่วงโซ่อุปทานยังคงซับซ้อน

กลยุทธ์ที่จะทำให้ทุกคนยอมรับคือ การทำแผนที่สำหรับห่วงโซ่อุปทาน ไม่ว่าผู้บริหารตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ หรือต้องการเตรียมพร้อมสำหรับการปรับเปลี่ยนได้ทันทีในช่วงที่เหตุการณ์วิกฤตเช่นนี้ พวกเขาจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ช่วยจะตัดสินใจได้ดีขึ้น

GM ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติอเมริกัน เป็นตัวอย่างที่ดี หลังจากดำเนินธุรกิจมานานกว่าศตวรรษ บริษัทได้เรียนรู้เกี่ยวกับอุปทานทั่วโลก ทีมการจัดการความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานของบริษัท นำความพยายามในการทำแผนที่ของซัพพลายเออร์และผู้จัดจำหน่ายทั่วโลก รวมถึงที่ที่พวกเขาอยู่ สิ่งที่พวกเขาผลิต และที่ที่จะไปต่อไป เมื่อสมาชิกในทีมรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นและนำมาทำงานร่วมกับระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อทำแผนที่และวิเคราะห์ข้อมูล

ด้วยการใช้ GIS ทีมบริหารความเสี่ยงจะคอยตรวจสอบการแจ้งเตือนสำหรับเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดผลกระทบทั่วโลก ขึ้นอยู่กับที่ตั้งและขอบเขตของแต่ละเหตุการณ์ และสร้างแผนที่อย่างรวดเร็วและแสดงผลว่าซัพพลายเออร์ใดได้รับผลกระทบ ชิ้นส่วนและวัสดุใดที่พวกเขาส่งไปยังโรงงาน GM  ซึ่งแผนที่แบบ Interactive ช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์รับมือกับการวิกฤตและความเสี่ยงได้อย่างรวดเร็ว

ในขณะที่ความสามารถของเทคโนโลยี GIS มีส่วนสำคัญในการช่วยให้ GM วิเคราะห์และตอบสนองต่อการหยุดชะงักของซัพพลายเชนได้ แต่ก็มีกระบวนการรวบรวมข้อมูลที่ยาวนาน ซึ่งการทำแผนที่ห่วงโซ่อุปทานนั้นเกี่ยวข้องกับการพูดคุยกับซัพพลายเออร์ระดับแรก ระดับที่สอง และแม้กระทั่งระดับที่สาม และระดับที่สี่ ในการทำรายการสินค้าอย่างระมัดระวังว่าพวกเขาอยู่ที่ไหนและมีส่วนร่วมในเครือข่ายได้อย่างไร Choi และ Rogers อาจารย์ของรัฐแอริโซนาเรียกกระบวนการของการทำแผนที่ซัพพลายเชนซึ่งใช้ทรัพยากรมากและยาก แต่พวกเขาทราบว่าในช่วงการระบาดของ COVID-19 และการหยุดชะงักอื่น ๆ ผู้บริหารที่ทราบว่ามีการผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบย่อยที่ศูนย์กระจายสินค้าอยู่ที่ไหน และวัสดุกระจายไปตามเส้นทางอุปทานเป็นครั้งแรกเพื่อจัดการแหล่งผลิตสำรอง

สำหรับผู้บริหารที่เลือกทำการปรับเชิงกลยุทธ์ ความสามารถในการวิเคราะห์ของ GIS มีบทบาทสำคัญ ตัวอย่างเช่น นักวิเคราะห์สามารถทำแผนที่ว่าสถานการณ์สมมติสำหรับบริษัท ในการพิจารณาห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาคที่เล็กลง พวกเขาอาจทำแผนที่รูปแบบการกระจายสินค้าได้หลายรูปแบบ เพื่อดูว่าสินค้าที่มีคุณภาพและคุ้มค่าจะเข้าถึงตลาดเป้าหมายจากหลากหลายศูนย์กลางการผลิต การมองเห็นที่ชัดเจนช่วยให้บริษัทผลักดันประสิทธิภาพใน Supply Chain ในระหว่างการหยุดชะงักการมองเห็นมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจผลกระทบและการดำเนินการแก้ไขปัญหา จากข้อมูลของ PwC มันเร็วเกินไปที่จะบอกว่า ห่วงโซ่อุปทานจะเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดหลังจากทศวรรษแห่งการหยุดชะงักนี้  โลกรู้สึกไม่มั่นคงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนี้ และเมื่อมีความเสี่ยงสะสม มนุษย์มักจะยึดติดกับความสะดวกสบายของงานที่ทำอยู่ประจำ

ไม่ว่าผู้บริหารระดับโลกจะทำการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ สิ่งสำคัญที่สุดในการวางแผนเริ่มต้นด้วยเทคโนโลยี GIS หากทุกองค์กรมีการปรับตัวเร็วเพื่อวางแผนดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบ ควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพและคิดค้นพัฒนา Service ใหม่ที่ตอบสนองความต้องการลูกค้า ก็เชื่อว่าจะสามารถผ่านปัญหาอุปสรรคในครั้งนี้และมีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นกว่าเดิม

 

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันการบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจสำหรับรองรับสถานการณ์ COVID-19

(Coronavirus Business Continuity Solution)  >> คลิกที่นี่

 


 

ค้นหาศักยภาพของเทคโนโลยี GIS กับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม

Read more