3 จุดเด่นของ ArcGIS ในการทำงานด้าน Imagery & Remote Sensing

 

การทำงานด้าน Imagery & Remote Sensing เป็นการทำงานกับข้อมูลภาพถ่าย ซึ่งภาพถ่ายเหล่านั้นก็ได้มาทั้งจากการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายจากดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายโดรน เป็นต้น และในปัจจัยการทำงานวิเคราะห์ทางด้านภูมิศาสตร์ร่วมกับภาพถ่ายนั้น ยังพัฒนาเติบโตก้าวไปอีกขั้นที่เพิ่มมิติที่หลากหลาย รองรับกับการวิเคราะห์ข้อมูลที่หลากหลายมากขึ้นทั้งภาพจากรถ MMS ภาพจากมือถือ เป็นต้น สะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยีในด้าน Imagery & Remote Sensing มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอด เพื่อที่จะค้นพบข้อมูลใหม่ด้วยภาพถ่าย

ArcGIS รองรับการวิเคราะห์และประมวลในการทำงานกับภาพแบบครบวงจร ซึ่ง ArcGIS ก็มีการพัฒนาการทำงานในด้าน Imagery & Remote Sensing เพื่อตอบโจทย์ให้แก่ผู้ใช้งาน เพื่อให้ทุกคนสามารถทำงานได้อย่างไร้รอยต่อและมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปีนี้ก็จะมีเทรนด์เทคโนโลยีที่สำคัญที่ ArcGIS ร่วมพัฒนาขึ้นในด้านการทำงานร่วมกับ Imagery & Remote Sensing

 

 

การเข้าถึงคลังข้อมูลภาพที่น่าเชื่อถือ

การเข้าถึงข้อมูลภาพ ข้อมูลภาพเป็นสิ่งสำคัญหลักในการทำงานด้านภาพถ่ายและ Remote Sensing ตั้งแต่การประมวลผลภาพ การวิเคราะห์ภาพ ไปจนถึงการแสดงผล แต่ปัญหาที่สำคัญในหลาย ๆ ครั้งกลับพบว่า การเข้าถึงภาพ นั้นเป็นเรื่องที่อาจจะยากลำบาก ทั้งแหล่งที่มาของภาพ ประเภทภาพที่ใช้ คุณภาพและความละเอียด รวมไปถึงช่วงเวลาต่าง ๆ ทำให้หลายคนอาจจะต้องเสียเวลานานไปกับการเตรียมข้อมูลเหล่านี้ ซึ่ง ArcGIS ก็เล็งเห็นปัญหานี้เช่นกัน จึงมีการรวบรวมคลังข้อมูลภาพ ข้อมูลภูมิประเทศ และข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดอย่าง ArcGIS Living Atlas ที่จะช่วยเพิ่มมิติให้กับการทำงานของคุณ และทำให้การเข้าถึงภาพง่ายยิ่งขึ้น เลือกใช้งานภาพได้ทุกช่วงเวลา ทุกพื้นที่ที่ต้องการได้  ซึ่งเราก็มีให้บริการข้อมูลภาพหลากหลายแพลตฟอร์มทั้งภาพจาก Landsat / Sentinel รวมไปถึง World Imagery Wayback ที่ให้บริการภาพถ่ายหลากหลายช่วงเวลา ซึ่งถ้าผู้ใช้งานสนใจเรื่องข้อมูลบน ArcGIS Living Atlas

สามารถอ่านรายละเอียดได้ที่ลิงก์นี้ (Esri Thailand | ArcGIS An Open Platform for Innovation: Open Data)

 

 

สามารถทำงานร่วมกับ AI

ในปัจจุบันเทคโนโลยี AI เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากขึ้น มีการประยุกต์ใช้ AI กับทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็น เกษตรกรรม การแพทย์ การเงิน อุตสาหกรรม หรือแม้แต่สิ่งรอบตัวเราในชีวิตประจำวัน อย่างโซเชียลมีเดีย ซึ่ง ArcGIS เองก็มีการพัฒนา GeoAI ขึ้นมาเพื่อบูรณาการการทำงานด้านภูมิศาสตร์ร่วมกับเทคโนโลยี AI สำหรับในการทำงานด้านภาพถ่าย มีการประยุกต์ใช้ AI มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การทำงานด้าน Machine Learning และ Deep Learning ซึ่งหลายท่านทราบกันดีว่า การเทรนโมเดลขึ้นมาเองนั้นมีความยาก Esri จึงมีการพัฒนา Pre-trained Model ที่เป็นโมเดลสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ ArcGIS Living Atlas และไม่เพียงเท่านั้น Esri ยังพัฒนาให้ GeoAI เป็นตัวช่วยสำคัญในการลดขั้นตอนการทำงานกับภาพในหลาย ๆ ส่วน อีกทั้งยังพัฒนาการใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นเช่น Smart Camera และ Generative AI ใน ArcGIS Survey123 เป็นต้น

 

 

เทคโนโลยี Reality Mapping

อีกไฮไลท์ที่สำคัญที่เพิ่งเปิดตัวไปในปีที่ผ่านมา อย่าง ArcGIS Reality เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เหมาะสำหรับการทำงานด้าน โฟโตแกรมเมตรี นอกจากการประมวลภาพจากโดรน ในปัจจุบันนี้ยังรองรับการประมวลผลภาพ เครื่องบิน (Aerial) และ ดาวเทียม มาพร้อมทั้งเทคโนโลยีใหญ่อย่าง Reality Engine ที่จะช่วยในการประมวลผลภาพทั้งแบบสองมิติและสามมิติ และปรับแก้ความถูกต้องได้อย่างแม่นยำมากขึ้น อีกทั้งสร้างผลลัพธ์จากภาพออกมาให้มีความเสมือนจริงยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่า ArcGIS มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบรับทุกความต้องการของผู้ใช้งาน ตั้งแต่การรวบรวมแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือไว้ในคลังข้อมูลขนาดใหญ่ อย่าง ArcGIS Living Atlas การพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับ AI เพื่อเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ร่วมกับภาพได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ และเทรนด์ที่มาใหม่อย่าง ArcGIS Reality ตัวช่วยที่สำคัญในการสร้างข้อมูลภาพที่มีความถูกต้อง และเสมือนจริงเพื่อจะเตรียมไปใช้ในการวิเคราะห์และแสดงผล

 


ค้นหาศักยภาพของเทคโนโลยี GIS กับการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพิ่มเติม

 

อ่านเพิ่มเติม